วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Chapter1 Computer Abstractions and Technology

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคแรก
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหย่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

Post-PC era VS PC-Plus era
Post-PC era คือ ยุคที่ PC กำลังจะถูกใช้น้อยลง และมี Devices อื่น ๆ มาทดแทนเพิ่มมากขึ้น เช่น Tablet, Smart Phone, Smart TV, เครื่องเล่นเกม รวมไปถึงตัวรับสัญญาณโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Devices เหล่านี้สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและทำงานทดแทนการใช้คอมพิวเตอร์ได้ โดยที่แนวความคิดนี้เป็นแนวการตลาดที่ Apple พยายามสร้างไว้
PC-Plus era คือ ยุคที่ Device 1 ตัวสามารถทำงานได้หลายหน้าที่และมีหลาย OS ยกตัวอย่างเช่น Tablet ที่ลง Windows OS และต่อคีย์บอร์ด ก็จะกลายเป็นว่า Tablet ตัวนั้นทำหน้าที่เป็น PC หรือคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าลง Tablet OS ด้วย ก็จะสามารถเลือกให้มันทำหน้าที่เป็น Tablet ก็ได้เช่นกัน ซึ่งแนวความคิดนี้มาจากฝั่ง Microsoft

โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์
เราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในตรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินพุตทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผลการปฏิบัติงานของเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น 
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุตหรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว(execute)การเอ็กซีคิ้วชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเรียกว่าการรัหรืออาจกล่าวว่าโปรแกรมถูกเอ็กซีคิ้ว
3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อสามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องการใช้เอาไว้ ดังนั้นหน่วยความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ๆ อาจมีหน่วยความจำขนาดหลายเมกกะไบต์ (106 ไบต์) หรือ หลายจิกกะไบต์ (109 ไบต์ )
Moore's law
กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี[1] กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น

การทำ Over Clock CPU
การจัดเวลา CPU

โครงสร้างทางซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
แบ่งเป็น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้นำมาประยุกต์ในการทำงาน โดยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ พัฒนาหรือเขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง ส่วนซอฟต์แวร์ระบบเป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมี เพื่อให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทำงานได้ ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ ทำหน้าที่ดำเนินการด้านอินพุทและเอาท์พุท บริหารจัดการหน่อยความจำและหน่วยสำรองข้อมูล จัดลำดับการทำงานและการใช้งานทรัพยากรของโปรแกรม ส่วนฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ หน่วยความจำ อุปกรณ์อินพุทเอาท์พุท
ขั้นตอนการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์
มีลักษณะคล้ายการทำแผ่นวงจรพิมพ์แต่มีความซับซ้อนและเทคโนโลยีในการผลิตสูงกว่ามาก โดยเริ่มต้นจากการนำแงซิลิกอนมาแล่ให้เป็นแผ่นบาง เรียกว่า Blank Wafer เมื่อนำแผ่นเวเฟอร์เปล่าเหล่านี้ไปผ่านขบวนการปลูกถ่ายนสาร และอื่นๆ จำนวน 20-40 ขั้นตอน  จนกลายเป็นแผ่นเวเฟอร์ที่มีลวดลาย ซึ่งประกอบด้วยดายจำวนหนึ่งกระจายในลักษณะตาราง หลังจากการทดสอบดายแต่ละตัวด้วยตัวทดสอบเวเฟอร์ ดายตัวที่ไม่ผ่านการทดสอบจะถูกกากบาทเพื่อทำเครื่องหมาย แล้วแผ่นเวเฟอร์จะถูกตัดด้วย Dicer ให้ดายแยกตัวออกจากกันเป็นสี่เหลี่ยม ดายตัวที่ผ่านการทดสอบก็จะถูกยึดเข้รากับตัวถัง ให้ตรงตามลักษณะที่ต้องการ หลังจากการทดสอบด้วย Part tester ดายที่ไม่ผ่านก็จะถูกทำเครื่องหมายและไม่ถูกส่งไปยังลูกค้า
การคำนวณหาเวลาซีพียู(CPU Time)
CPU Time = CPU Clock Cycles * Clock Cycle Time
CPU Time = CPU Clock Cycles / Clock Rate
สรุป
โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ทั่วไปประกอบด้วย ชั้นนอกสุดที่เข้าใกล้ผู้ใช้งานคือ ชั้นของซอฟต์แวร์
ประยุกต์ (Application software) ถัดเข้ามาเป็นชั้นซอฟต์แวร์ระบบ (System software) ซึ่งทำหน้าที่
ประสานงานและควบคุมสั่งงานฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ หน่วยความจำและอุปกรณ์อินพุทเอาท์พุท เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไป ขนาดของโปรเซสเซอร์เล็กลง ทำงานได้รวดเร็วขึ้น การวัดประสิทธิภาพหรือสมรรถนะจึงต้องใช้การวัดเวลาซีพียู (CPU Time) ซึ่งสามารถคำนวณได้จาก จำนวนคำสั่งที่ทำงานจริง คูณกับ จำนวนไซเคิลต่อหนึ่งคำสั่ง คูณกับ คาบเวลา

แหล่งที่มา เอกสารประกอบการสอน ผศ.ดร.สุรินทร์ กิตศิธรกุล